นักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายไป
อาจารย์ร่วมอภิปรายเพิ่มเติม
วันนี้บรรยากาศในห้องดูตึงเครียดเพราะต้องเตรียมตัวรายงานและตองตั้งใจฟังเพื่อนรายงาน
วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552
เทคนิคการสอนภาษา
เทคนิคการสอนภาษา
การสอนภาษาสำหรับเด็กไม่ใช่เพียงการสอนเฉพาะทักษะการอ่านเขียน แต่ยังรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย เพราะการฟังและการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและเขียน ครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็ก โดยการสังเกตเวลาสอนเด็ก แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา ครูจะต้องรู้ว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร ประสบการณ์ทางภาษาของเด็กจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น เมื่อเด็กมาถึงโรงเรียนเด็กได้ประสบการณ์ด้านภาษามาบ้างแล้ว คือ ป้ายชื่อจราจร ป้ายชื่อร้านอาหาร สัญลักษณ์ เด็กจึงเรียนรู้ภาษามกมาย ก่อนเข้าอนุบาล เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบ Whole Language คือสอนอย่างธรรมชาติ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้ามาจากการตัดสินใจของเด็กเอง ควรสอนภาษาเด็ก เริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้และอยู่ในความสนใจของเด็ก เช่น ชื่อตัวเอง ชื่อนิทาน ควรให้ความเคารพในภาษาที่เด็กใช้ การประเมินควรจะใช้การสังเกตอาจประเมินทักษะในเรื่อง ของความจำเนื้อเรื่อง สามารถเข้าใจความหมาย บอกซ้ำ เล่าได้ ตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมการพูด 1.อธิบายหรือเล่าภาพที่เห็น 2.ทำท่าประกอบคำการพูด 3.เล่านิทาน 4.เรียกชื่อตามนิทาน ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียน 1.ชักชวนให้อ่านเครื่องหมายจราจร 2.ให้เด็กรู้จักการเขียน เช่น เขียนโต๊ะ เขียนจดหมาย 3.เขียนส่วนผสมอาหารและลองปรุงกับลูก ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการฟัง 1.ฟังประกอบหุ่น 2.ฟังและแยกเสียง 3.ฟังแล้วทำตามคำสั่ง ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา 1.ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ใช่การจับเด็กมานั่งเรียนอย่างเดียว ในการเรียนภาษาอาจจะสอดแทรกอยู่ในกิจกรรมศิลปะ โดยให้เด็กเล่าผลงานของเขา ครูจะต้องรู้จักและเป็นผู้บูรณาการทุกอย่างเข้าด้วยกัน 2.ควรสอนโยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน เพราะจะเป็นการสร้างปมด้อย หรือสร้างความไม่น่าเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก เด็กทุกคนควรมีโอกาสในการเรียนที่เท่ากัน
การสอนภาษาสำหรับเด็กไม่ใช่เพียงการสอนเฉพาะทักษะการอ่านเขียน แต่ยังรวมถึงทักษะการฟัง การพูดด้วย เพราะการฟังและการพูดเป็นพื้นฐานของการอ่านและเขียน ครูสามารถประเมินผลการสอนของตนเองจากเด็ก โดยการสังเกตเวลาสอนเด็ก แนวคิดพื้นฐานของการสอนภาษา ครูจะต้องรู้ว่าเด็กของเราเรียนรู้อย่างไรและเด็กเรียนภาษาอย่างเป็นธรรมชาติอย่างไร ประสบการณ์ทางภาษาของเด็กจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น เมื่อเด็กมาถึงโรงเรียนเด็กได้ประสบการณ์ด้านภาษามาบ้างแล้ว คือ ป้ายชื่อจราจร ป้ายชื่อร้านอาหาร สัญลักษณ์ เด็กจึงเรียนรู้ภาษามกมาย ก่อนเข้าอนุบาล เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ถ้าเราสอนแบบ Whole Language คือสอนอย่างธรรมชาติ เด็กจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดถ้ามาจากการตัดสินใจของเด็กเอง ควรสอนภาษาเด็ก เริ่มจากสิ่งที่เด็กรู้และอยู่ในความสนใจของเด็ก เช่น ชื่อตัวเอง ชื่อนิทาน ควรให้ความเคารพในภาษาที่เด็กใช้ การประเมินควรจะใช้การสังเกตอาจประเมินทักษะในเรื่อง ของความจำเนื้อเรื่อง สามารถเข้าใจความหมาย บอกซ้ำ เล่าได้ ตัวอย่างกิจกรรมที่ส่งเสริมการพูด 1.อธิบายหรือเล่าภาพที่เห็น 2.ทำท่าประกอบคำการพูด 3.เล่านิทาน 4.เรียกชื่อตามนิทาน ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเขียน 1.ชักชวนให้อ่านเครื่องหมายจราจร 2.ให้เด็กรู้จักการเขียน เช่น เขียนโต๊ะ เขียนจดหมาย 3.เขียนส่วนผสมอาหารและลองปรุงกับลูก ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการฟัง 1.ฟังประกอบหุ่น 2.ฟังและแยกเสียง 3.ฟังแล้วทำตามคำสั่ง ข้อควรปฏิบัติในการสอนภาษา 1.ควรสอนในสภาพที่เป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ใช่การจับเด็กมานั่งเรียนอย่างเดียว ในการเรียนภาษาอาจจะสอดแทรกอยู่ในกิจกรรมศิลปะ โดยให้เด็กเล่าผลงานของเขา ครูจะต้องรู้จักและเป็นผู้บูรณาการทุกอย่างเข้าด้วยกัน 2.ควรสอนโยไม่มีการแบ่งแยกกลุ่มเด็กเก่งเด็กอ่อน เพราะจะเป็นการสร้างปมด้อย หรือสร้างความไม่น่าเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก เด็กทุกคนควรมีโอกาสในการเรียนที่เท่ากัน
วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ครั้งที่2 วันที่12/11/2552
วันนี้เรียนเย็นมากเลย แต่ก็ยังดีนะที่ได้เรียนห้องคอม มีความสุขมาก ไม่รู้สึกเบื่อ
วันนี้อาจารย์ก็ให้ทำงาน แบ่งกลุ่มละ5 แต่ต่างคนต่างทำกันก่อน หัวข้อที่ได้ เกี่ยวกับ แนวคิดนักการศึกษาทางด้านภาษา เชื่อหรือไหมว่า
หายากมาก กว่าจะเจอ วันนี้ฉันได้ใส่เพลง เปิดใจไว้ด้วย ถ้าเพื่อนเข้ามาในบล็อกของฉัน ก็ลองฟังดูกันนะจ๊ะ เป็นเพลงแบบสบายๆ
นี้คือส่วนที่ได้จากที่ฉันหา
การสอนภาษาแบบองค์รวม
ความหมายการสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach) หมายถึง การสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมช่วยทำให้เข้าใจสื่อที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น การสอนจะไม่แยกสอนส่วนย่อยของภาษาทีละส่วนแต่เน้นให้เข้าใจในภาพรวมก่อน แล้วจึงเรียนรู้ด้านโครงสร้างภาษาภายหลัง ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ ผู้สอนต้องยอมรับความแตกต่างด้านการออกเสียงที่เป็นสำเนียงภาษาถิ่น(dialects) ในเบื้องต้น แล้วจึงพัฒนาให้ถูกต้องในโอกาสต่อไป การสอนภาษาแบบองค์รวมจะเน้นการนำรวมวรรณกรรมต่าง ๆ ที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภาษาที่หลากหลาย สามารถนำไปเป็นแบบอย่างการใช้ภาษาของตนเองและใช้ได้ในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวมจึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและยึดหลักการประชาธิปไตยในชั้นเรียน
วันนี้อาจารย์ก็ให้ทำงาน แบ่งกลุ่มละ5 แต่ต่างคนต่างทำกันก่อน หัวข้อที่ได้ เกี่ยวกับ แนวคิดนักการศึกษาทางด้านภาษา เชื่อหรือไหมว่า
หายากมาก กว่าจะเจอ วันนี้ฉันได้ใส่เพลง เปิดใจไว้ด้วย ถ้าเพื่อนเข้ามาในบล็อกของฉัน ก็ลองฟังดูกันนะจ๊ะ เป็นเพลงแบบสบายๆ
นี้คือส่วนที่ได้จากที่ฉันหา
การสอนภาษาแบบองค์รวม
ความหมายการสอนภาษาแบบองค์รวม (Whole Language Approach) หมายถึง การสอนภาษาที่เป็นไปตามธรรมชาติ เน้นสื่อที่มีความหมาย ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมช่วยทำให้เข้าใจสื่อที่อ่านได้รวดเร็วขึ้น การสอนจะไม่แยกสอนส่วนย่อยของภาษาทีละส่วนแต่เน้นให้เข้าใจในภาพรวมก่อน แล้วจึงเรียนรู้ด้านโครงสร้างภาษาภายหลัง ผู้เรียนสามารถสร้างสรรค์ภาษาของตนเองอย่างอิสระ ผู้สอนต้องยอมรับความแตกต่างด้านการออกเสียงที่เป็นสำเนียงภาษาถิ่น(dialects) ในเบื้องต้น แล้วจึงพัฒนาให้ถูกต้องในโอกาสต่อไป การสอนภาษาแบบองค์รวมจะเน้นการนำรวมวรรณกรรมต่าง ๆ ที่ดีมาเป็นสื่อการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ภาษาที่หลากหลาย สามารถนำไปเป็นแบบอย่างการใช้ภาษาของตนเองและใช้ได้ในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนภาษาแบบองค์รวมจึงเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและยึดหลักการประชาธิปไตยในชั้นเรียน
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
น.ส.น้ำฝน ฉันท์ไทย 5111205059
เลขที่10 วันที่6/11/2552
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดเด็กก็จะมีภาษาและคำพูดออกมาจากตัวเด็กแล้ว คือเด็กจะร้อง “อุแว้” ฉะนั้นทักษะทางด้านภาษาก็จะสอดคล้องกับพัฒนาการทุกๆด้านของเด็กปฐมวัย นอกจากนี้แล้วผู้สอนควรจัดบรรยากาศให้หน้าเรียนรู้อยู่เสมอ ไม่กดดันกับเด็กเพราะจะทำให้เกิดการเบื่อหน่ายและไม่ชอบสิ่งนั้น การจัดประสบการณ์ทางภาษา ได้แก่ การอ่านหนังสือนิทาน การให้เด็กเล่าเรื่องจากภาพ ซึ่งประกอบด้วย ฟัง พูด อ่าน เขียน
บรรยากาศ
1.น่าเรียนไม่ตึงเครียด
2.ชอบเรียนในห้องคอมพิวเตอร์
3.อุณภูมิเหมาะสมในการเรียนมาก
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
คือการวางแผน การจัดกิจกรรม หรือลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์โดยใช้ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว และมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเพื่อให้เกิดภาษาได้อย่างดี เมื่อเด็กอารมณ์จิตใจดีก็จะส่งผลให้เกิดพัฒนาการในทุกๆด้าน การจัดประสบการณ์ทางด้านภาษา ได้แก่ การอ่าน การพูด การฟัง การเขียน
สรุป
การจัดประสบการณ์ทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย คือการที่ผู้สอนต้องวางแผน และการจัดกิจกรรม เพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ทางด้านภาษาประกอบด้วย ฟัง พูด อ่าน เขียน
เลขที่10 วันที่6/11/2552
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดเด็กก็จะมีภาษาและคำพูดออกมาจากตัวเด็กแล้ว คือเด็กจะร้อง “อุแว้” ฉะนั้นทักษะทางด้านภาษาก็จะสอดคล้องกับพัฒนาการทุกๆด้านของเด็กปฐมวัย นอกจากนี้แล้วผู้สอนควรจัดบรรยากาศให้หน้าเรียนรู้อยู่เสมอ ไม่กดดันกับเด็กเพราะจะทำให้เกิดการเบื่อหน่ายและไม่ชอบสิ่งนั้น การจัดประสบการณ์ทางภาษา ได้แก่ การอ่านหนังสือนิทาน การให้เด็กเล่าเรื่องจากภาพ ซึ่งประกอบด้วย ฟัง พูด อ่าน เขียน
บรรยากาศ
1.น่าเรียนไม่ตึงเครียด
2.ชอบเรียนในห้องคอมพิวเตอร์
3.อุณภูมิเหมาะสมในการเรียนมาก
การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
คือการวางแผน การจัดกิจกรรม หรือลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์โดยใช้ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว และมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาเพื่อให้เกิดภาษาได้อย่างดี เมื่อเด็กอารมณ์จิตใจดีก็จะส่งผลให้เกิดพัฒนาการในทุกๆด้าน การจัดประสบการณ์ทางด้านภาษา ได้แก่ การอ่าน การพูด การฟัง การเขียน
สรุป
การจัดประสบการณ์ทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย คือการที่ผู้สอนต้องวางแผน และการจัดกิจกรรม เพื่อให้เด็กได้ลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ทางด้านภาษาประกอบด้วย ฟัง พูด อ่าน เขียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)